รายการบล็อกของฉัน

วันอาทิตย์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การโคลนนิ่ง ตอน การโคลนนิ่งเเละขั้นตอนการโคลนนิ่งสัตว์




การโคลนนิ่ง
     การโคลนนิ่งเป็นเทคโนโลยีที่ไม่ได้มีความซับซ้อนอะไรมาก มีการทำมานานแล้วตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งก็คือการโคลนนิ่งพืช เช่น การเพาะชำ การตอนกิ่ง ปัจจุบันมีการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มากใช้มากขึ้นก็เกิดการพัฒนามาเป็นการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื้อ การโคลนนิ่งในสัตว์ก็มีหลักการคล้ายกันคือ การขยายพันธ์พืช/สัตว์โดยไม่อาศัยเซลล์พืช โดยสิ่งมีชีวิตที่ได้จากการโคลนจะมีลักษณะเหมือนต้นแบบทุกประการ

การทำโคลนนิ่งในสัตว์
    การทำโคลนนิ่งคือตอนเรียนนี้ตกใจเลยล่ะค่ะ มันง่ายเวอร์!!! อุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆก็ไม่ได้เป็นเครื่องมือที่ใช้ยากอะไร ไม่ได้ใช้เทคนิคพิสดารตีหลังกาทำอะไรเลย

ขั้นตอนการทำโคลนนิ่ง(แบบคร่าวๆไม่ละเอียด)
1.       การเตรียนเซลล์ต้นแบบ (Donor)
     ทำการเนื้อเยื่อจากสัตว์ต้นแบบจะเป็นส่วนใดก็ได้แต่ที่นิยมทำกันจะเป็นเนื้อเยื่อส่วนใบหู ตัดออกมาเป็นชิ้นเล็กๆ  นำชิ้นเนื้อเยื่อมาเลี้ยงในน้ำยาเลี้ยงเซลล์ นำไปแช่ในอุณหภูมิที่เหมาะสม 10 วัน ครบสิ่งวันแล้วก็สามารถนำเซลล์ที่ได้มาไปใช้ได้แต่ ถ้าไม่ใช้ก็น้ำไปแช่แข็งเก็บไว้
2.      การเตรียมไซโตพลาส
     ปัญหาในขั้นตอนการเตรียมไซโตพลาสคือ จะไปหาเซลล์ไข่ได้จากที่ไหน? หากเป็นสัตว์เลี้ยงปตุสัตว์ก็สามารไปเก็บเอาไข่จากรังไข่ที่โรงฆ่าสัตว์ได้เลย สมมุติได้รังไข่มาแล้วก็จะนำรังไข่มาแช่เก็บไว้ใน 0.9%NaCl เพื่อรักษาสภาพไว้ จากนั้นจะใช้ follicle เส้นผ่าศูนย์กลาง 3-6 mm ดูดเซลล์ไข่ออกมา
3.      เลี้ยงไข่ให้สุกในหลอดแก้ว
เมื่อได้เซลล์ไข่มาแล้วจะนำมาเลี้ยงในน้ำยาเลี้ยง เอาไปอบในตู้ที่อุณหภูมิ  38.5 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 22 ชั่วโมง เซลล์ไข่ที่ได้จะมีเซลล์คิวมูลัสรอมรอบอยู่ เราจะทำการย่อยเซลล์คิวมูลัสด้วยเอ็นไซน์0.1%hyaluronidase in DPBS
4.      ดูดนิวเคลียสออก
    ในเซลล์ไข่ที่สุกแล้วจะมีบริเวณที่เรียกว่า 1stPB ซึ่งบริเวณนี้จะแป็นบริเวณที่มีนิวเคลียลอยู่ การหา1stPB จะทำได้โดยการนำเซลล์ไข่ไปส่องใต้แสง UV จะเห็นเป็นจุดเรืองแสง 2 จุดเล็ก
เทคนิคการดูดนิวเคลียสออกมามี 2 เทคนิค
1.       ใช้เข็มจิ้มแล้วกดออก
2.      ใช้หลอดดูดออก
5.      การฝากเซลล์
เมื่อได้เซลล์ไข่ที่ไม่มีนิเคลียสแล้วจะทำการใส่เซลล์ต้นแบบ (Donor) เข้าไป จากนั้นจะทำการเชื่อมด้วยกระแสไฟฟ้าอ่อน
6.      เลี้ยงตัวอ่อน
นำเซลล์ไข่จากการฝากเซลล์มาเลี้ยงในน้ำยา (มันเยอะมาก) 5 วัน
7.      การเตรียมตัวรับและการย้ายฝากตัวอ่อน
     เตรียมตัวรับให้มีวันเป็นสัต(ตกไข่) มีอายุเท่ากับตัวอ่อน คือในวันที่เริ่มการฝากเซลล์ต้องเตรียมตัวรับให้เป็นสัตในวันเดียวกัน เมื่อตัวรับพร้อมแล้วจะการย้ายฝากตัวอ่อน  การย้ายฝากตัวอ่อนก็ใช้เทคนิคและเคลื่องมือคล้ายๆกับการผมสเทียมที่ทำกันทั่วไป
8.      รอคลอด

สรุป

วันเสาร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2557

โปรตีน ตอนที่ 4 โครงสร้างโปรตีน






โครงสร้างโปรตีน (protein structure)


โปรตีนเนี่ยใช่ว่าอยู่ดีๆเอากรดอะนิโนมาเรียงๆกันเเละจะได้เป็นโปรตีนนะ ที่จริงก็เป็นโปรตีนอยู่หรอก...เเต่ก็เป็นได้เเค่โปรตีนที่ใช้การไม่ได้เเค่นั้น เปรียบเหมือนกับชีวิตคนนั้นเเหละ พอหลุดจากมดลูกของเเม่ปุ๊บก็เป็นสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า Homo sapiens เเล้วใช่มั้ยล่ะ เเต่กว่าจะใช้การได้เกิดเเบบทุกวันนี้คิดดูสิว่ามันต้องผ่านกว่าขดตัวเปลี่ยนรูปร่างมากี่ครั้ง...
 
โครงสร้างโปรตีนปฐมภูมิ (primary protein structure)
     เป็นโครงสร้างที่กรดอะมิโนแต่ล่ะชนิดมาต่อกันเป็นสายพอลิเพปไทด์  โดยกรดอะมิโนที่มาต่อหากสลับตำแหน่งกันจะทำให้คุณสมบัติของสายพอลิเพปไทป์ต่างกันและจะทำให้ได้โปรตีนคนละชนิดกัน
 ที่มา : http://clj0125.wordpress.com/2012/02/12/unit-compilation-1/

โครงสร้างโปรตีนทุติยภูมิ (secondery protein structure)
เป็นโครงสร้างโปรตีนที่มีลักษณะเฉพาะและคงที่
-          เกลียวแอลฟา (α-helices)
เกิดจากสายพอลิเพปไทด์ขดเป็นเกลียวเวียนขวา ในหนึ่งรอบมีจำนวนกรดอะมิโน 3.6 โมเลกุล แต่ล่ะรอบ/ระยะห่างระหว่างเกลียวประมาณ 5.4 นาโนเมตร  การขดตัวเกิดได้ตั้งแต่ 3-10 รอบ โดยทั่วไปพบ 3 รอบ มีพันธะไฮโดรเจนเป็นตัวสำคัญในการยึดตัว โดน C=O ของกรดอะมิโนตัวที่ n จะสร้างพันธะไฮโดรเจนกับ N-H ของกรดอะมิโนตัวที่ n-4
 ที่มา :http://www.nslc.wustl.edu/courses/Bio2960/labs/02Protein_Structure/PS2011.htm

   แผ่นพลีตบีตา (B-pleated sheet)
     คล้ายเกลียวแอฟาแตกต่างกันที่พันธะไฮโดรเจนจะเกิดกับสายพอลิเพปไทด์อีกสาย  แผ่นพลีตบีตาจะมีลักษณะเป็นแผ่นพับจีบ/กระเบื้องมุมหลังคา มีแบบสวนขนาน (parallel) พันธะไฮโดเจนเรียงตัวในทิศเดียวกัน และ แบบสวนทาง (antiparallel) พันธะไฮโดเจนเรียงตัวในทิศตรงข้าม  พันธะไฮโดเจนในแผ่นพลีตบีตาแบบสวนทางจะเป็นแนวตรงทำให้แข็งแรงมากกว่าแผ่นพลีตบีตาแบบขนาน


 ที่มา :http://wiki.chemprime.chemeddl.org/index.php/Secondary_Protein_Structure_with_Cultural_Connections

โครงสร้างทุติยภูมิยิ่งยวด (supersecondary protein structure) หรือ โมทีฟ ( motif )
     เป็นเกลียวแอลฟาและ/หรือแผ่นพลีตบีต้า เชื่อมต่อกันด้วยห่วง (loop) ซึ่งมีหลายลวดลาย ห่วงที่พบได้บ่อยเป็นชนิด B-turn หรือ B-bend 




 ที่มา : http://web.sls.hw.ac.uk/teaching/Derek_J/A13MM1-web/Lectures/files/protein_structure/index.html


โครงสร้างโปรตีนตติยภูมิ (tertiary protein structure)
     เป็นโปรตีนที่เกิกการม้วนตัวเพื่อให้เหมาะสมในการทำหน้าที่ในร่างกาย โดยรูปแบบการม้วนตัวจะขึ้นอยู่กับสายพอลิเพป์ไทด์ที่เป็นองค์ประกอบ ในการม้วนตัวเพื่อสร้างโครงสร้างตติยภูมิจะมีโปรตีนกลุ่ม ชาเปอโรน (chaperone) ที่พบมากในไซโตรพลาสซึม ช่วยให้เกิดการม้วนตัวในทิศทางที่ถูกต้อง โดยจะม้วนไปในทิศที่ให้พลังงานต่ำสุด เพื่อให้โครงสร้างเสถียงที่สุด
โครงสร้างตติยภูมิที่พบจะมีรูปเป็นแบบเส้นใยหรือทรงกลมเสมอ

โครงสร้างโปรตีนจตุรภูมิ (quaternary protein structure)
     เป็นโครงสร้างที่เกิดจากสายพอลิเพปไทด์หลายหน่วยมารวมกันด้วยแรงยึดเหนี่ยวอย่างอ่อน เช่น ฮิโมโกบิน (hemoglobin) ที่เกิดจาดหน่วยย่อย 4 หน่วย

 ที่มา : http://fmss12ucheme.wordpress.com/2013/05/06/hemoglobin/

วันศุกร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2557

โปรตีน ตอนที่ 3 โปรตีน เเละเพปไทด์






โปรตีน (protein)
โปรตีนเป็นสายพอลิเพปไทด์ที่กรดอะมิโนมาต่อกันด้วยพันธะเพปไทด์ อาจเป็นสายสั้นๆหรือเป็นสายยาว ถ้ายาวมากๆจะเกิดการพับ ม้วน หรือหดตัว เพื่อให้โปรตีนสามารถไปทำหน้าที่ในทางชีวภาพได้

เพปไทด์
กรดอะมิโนจะมาต่อกันได้โดย เชื่อมที่ C ของหมู่คาร์บอกซิล และ H ที่หมู่อะมิโนอีกตัวหนึ่ง กำจัดน้ำ(H2O)ออกหนึ่งตัว จะเกิดไดเพปไทด์ พันธะที่เกิดขึ้นเรียกว่า พันธะเพปไทด์

 ที่มา : http://imcurious.wikispaces.com/Exam%20Review%20P1

พันธะเพปไทด์จะแข็งแรงกว่าพพันธะเดียวปกติเพราะ พันธะจะอยู่ในแนวระนาบ อิเล็กตรอนวิ่งได้สะดวกทำให้เกิดเรโซแนนซ์(resonance) คล้ายพันธะคู่

โครงสร้างของโปรตีนแบ่งได้ 4 แบบ
1.    โครงสร้างปฐมภูมิ (primary structure)
2.   โครงสร้างทุติยภูมิ (secondary structure)
3.   โครงสร้างตติยภูมิ (tertiary structure)
4.   โครงสร้างจตุรภูมิ (quaternary structure)

รายละเอียดของโครงสร้างต่างๆอยู่ในบทความต่อไปนะจ๊ะ......